“ลุมพินี วิสดอม” ระบุตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล สะสมเดือน ม.ค.-เม.ย. 2565 หน่วยเพิ่มขึ้น 120%(YoY) มูลค่าเพิ่มขึ้น 30%(YoY)
ผลการวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์กรุงเทพฯ-ปริมณฑลสะสมเดือน ม.ค.-เม.ย. 2565 มีจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ทั้งสิ้น 28,564 หน่วย เพิ่มขึ้น 120% เมื่อเทียบกับหน่วยสะสมของปี 2564 และมีมูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่รวม 103,078 ล้านบาท แบ่งเป็นการเปิดตัวคอนโดมิเนียมมีหน่วยเปิดตัวใหม่เพิ่มขึ้น 208%(YoY) จำนวน 26 โครงการ 18,067 หน่วย มูลค่า 53,293 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10%(YoY) เมื่อเทียบกับช่วยเดียวกันในปี 2564 และมีอัตราขายเฉลี่ยอยู่ที่ 32% นับเป็นสัดส่วน 63% ของหน่วยเปิดตัวที่อยู่อาศัยทั้งหมด
ในขณะที่มีการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัย มีหน่วยเปิดตัวใหม่เพิ่มขึ้น 48%(YoY) จำนวน 61 โครงการ จำนวน 10,501 หน่วย มูลค่า 49,785 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 61%(YoY)เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564 และมีอัตราขายเฉลี่ยอยู่ที่ 13%
โดยที่ทาวน์เฮาส์ ช่วงราคา 2-5 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยเปิดตัวและหน่วยขายได้สูงที่สุดของบ้านพักอาศัยทุกประเภท อัตราขายได้เฉลี่ย 12% ในทุกทำเลรอบตัวเมืองกรุงเทพฯ อย่างเช่น ทำเลศรีนครินทร์-บางนา-สุวรรณภูมิ / หทัยราษฎร์-วัชรพล-สายไหม / ราชพฤกษ์-เพชรเกษม รองลงมาคือ บ้านเดี่ยว ช่วงราคา 6-10 ล้านบาท อัตราขายได้เฉลี่ย 13% เปิดตัวในทำเลประชาอุทิศ-พุทธบูชา / รังสิต / วัชรพล-คู้บอน
ขณะที่บ้านเดี่ยวเปิดตัวโครงการใหม่ระดับพรีเมี่ยม มีจำนวน 11 โครงการ จำนวน 834 หน่วย มูลค่า 11,989 ล้านบาท อัตราขายได้เฉลี่ย 9%
ขณะที่ผลประกอบการบริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไตรมาส 1/65 รายได้รวมและกำไรลดลง โดยที่รายได้รวมอยู่ที่ 67,724.22 ล้านบาท กำไรสุทธิ 7,327.59 ล้านบาท ลดลง 2.86%(YoY) และ 18.97%(YoY) ตามลำดับ และความสามารถในการทำกำไรเฉลี่ย 10.81% ลดลงจาก 12.97% ในระยะเดียวกันของปี 2564 ในขณะเดียวกันสินค้าคงเหลือและที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เพิ่มขึ้น 2.47% ผลจากการเร่งเปิดตัวโครงการของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ในไตรมาสแรก 2565 หลังจากที่ชะลอเปิดตัวโครงการในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564
ในขณะที่รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2565 โดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเติบโตขึ้น 2.2% และธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยจากอัตราการเติบโตที่ 3.5-4.5% เป็น 2.5-3.5% โดยผลจากสงครามของรัสเซีย-ยูเครนยังส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกและเศรษฐกิจไทย โดยคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ที่ 4.5-5% ส่งผลให้ต้นทุนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวสูงขึ้น และจากนโยบายการปรับดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ